วิธีง่ายๆ เพื่อการท่องจำอัลกุรอาน อิสลามกับวันวาเลนไทน์ เทศกาลวาเลนไทน์ … สำหรับใคร



ดอยอ่างขาง


ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง


ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง


ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง


ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง


ดอยอ่างขาง


เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ 3seasons

ลมหนาวมาแล้ว ... ถึงเวลาออกไปโลดแล่นสัมผัสกับอากาศเย็น ๆ กันซะหน่อย ^^ และวันนี้กระปุกดอทคอมจะพานักเดินทางไปท้าทายความหนาวเย็นไกลถึง "เชียงใหม่"สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง หรือที่หลายคนเรียกว่า ดอยอ่างขาง กันค่ะ ใครเตรียมตัวเตรีมใจพร้อมแล้ว ก็ตามเราเข้าไปเลยค่ะ...

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็น สถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะ 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า "ให้เขาช่วยตัวเอง" เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาว ที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ประวัติ...ดอยอ่างขาง

โดยเรื่องกำเนิดของ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง แห่งนี้ เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่า ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้ และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร

จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลย และสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่า ชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณ ดอยอ่างขาง ส่วนหนึ่ง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ. ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า "สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง"

"อ่าง ขางในอดีตวันนั้นสวยมากด้วยดอกฝิ่นและภูมิประเทศ เราได้เห็นต้นท้อ แอ๊ปเปิ้ลป่า และทราบว่าอากาศหนาวเราได้คุยกับผู้ที่ไปตั้งร้านขายของ ซื้อฝิ่นเขาขึ้นมาอีกทางหนึ่ง ห่างจากค่ายทหารจีนโดยที่ชาวเขาส่วนมากอพยพไปที่อื่น อ่างขางจึงมีที่เหลือให้หญ้าคาขึ้นอยู่มาก ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขางขึ้นเมื่อ 30 ปี มานี้ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้ทำวิจัยได้" ม.จ. ภีศเดช รัชนี กล่าว

โดยคำว่า "อ่างขาง" ภาษา เหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อม รอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อย ๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง ปัจจุบัน ดอยอ่างขาง ได้เปลี่ยนสภาพจากภูเขา ซึ่งถูกตัดไม้ทำลายป่ามาเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวกว่า 12 ชนิด ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอร์รี่ สาลี่ ราสเบอรี่ พลับ กีวี ลูกไหน เป็นต้น ผักเมืองหนาวกว่า 60 ชนิด เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ และไม้ดอกเมืองหนาวมากกว่า 20 ชนิด เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ จำหน่ายผลิตผลตามฤดูกาลที่ปลูก ในโครงการให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล

สำหรับบน ดอยอ่างขาง มีชาวไทยภูเขาเผ่าจีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง อาศัยอยู่โดยรอบกว่า 600 ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน ส่วนสภาพอากาศจะเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16.9 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว


ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

กิจกรรมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง ได้แก่…

• ชมแปลงสาธิต ผัก ผลไม้ และไม้ดอกเมืองหนาวภายในศูนย์ฯ สามารถขับรถวนเป็นวงกลม ค่าเข้าชมคนละ 30 บาท ยานพาหนะคันละ 50 บาท

• ชมสวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันก็มีสวนสมุนไพรด้วยฤดูท่องเที่ยวอยู่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

• เยี่ยมหมู่บ้านหลวง สัมผัสชีวิตชาวจีนฮ่อ ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีน ยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

• เยี่ยมหมู่บ้านนอแล สัมผัสวิถีชีวิตชาวปะหล่อง อดีตชนเผ่าดั้งเดิมของพม่า มีผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของกลุ่มแม่บ้าน จำหน่ายและเยี่ยมฐานปฏิบัติการนอแล ชมชายแดนไทย-พม่า ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย - พม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมาที่นี่ได้ประมาณ 15 ปี คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติ บริเวณพรมแดนไทย-พม่า

• เที่ยวบ้านขอบด้ง สัมผัสวิถีชีวิตชาวเขาเผ่ามูเซอ มีมัคคุเทศก์น้อยพาเยี่ยมชมภายในหมู่บ้าน เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่า มูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตร และด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของ ชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้ง ช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้าน โดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อย ที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้ง เพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ด้วย


ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง


• เที่ยวหมู่บ้านคุ้ม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็ก ๆ ประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว

• เดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะสั้น ประมาณ 2 กิโลเมตร จะได้ชมความงามธรรมชาติของผืนป่าปลูกทดแทน น้ำตกเล็กๆ และกุหลาบพันปี

• ขี่จักรยานเสือภูเขาชมธรรมชาติ จากบ้านคุ้มไปยังบ้านนอแล และจากบ้านหลวงไปยังบ้านผาแดง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

• กิจกรรมดูนก ที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกหายากต่างถิ่นให้ศึกษาหลากสายพันธุ์ มากกว่า 1,000 สายพันธุ์ จุดที่เหมาะคือสถานีป่าแม่เผอะและบริเวณรอบๆ รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง

• ขี่ฬ่อล่องไพร ชมความงดงามของธรรมชาติ ในบรรยากาศเย็นสบายรอบ ๆ ดอยอ่างขาง ด้วยการนั่งบนหลังฬ่อ (การนั่งบนหลังฬ่อต้องนั่งหันข้าง เนื่องจากอานกว้างไม่สามารถนั่งคร่อมอย่างการขี่ม้าได้) หากสนใจกิจกรรมนี้ต้องติดต่อกับรีสอร์ทล่วงหน้าอย่าน้อย 1 วัน เพราะปกติชาวบ้านจะนำฬ่อไปเป็นพาหนะขนผลิตผลทางการเกษตรด้วย

• จุดชมวิว-จุดกิ่วลมชนิด เป็นลานชมพระอาทิตย์ขึ้น-ตกดิน และสัมผัสทัศนียภาพของถนนทางขึ้น ดอยอ่างขาง อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยก ซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมวิวได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก หรือทะเลหมอก มองเห็นทิวเขารอบด้าน และหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ที่พักและร้านอาหาร

สถานีเกษตรหลวงอ่างขางมีบ้านพักรับรองภายในศูนย์ฯ จำนวน 18 หลัง ดังนี้...

• ขนาดพัก 2 คน ราคา 1,000 บาท/หลัง/คืน
• ขนาดพัก 6 คน ราคา 1,200 บาท/หลัง/คืน
• ขนาดพัก 40 คน ราคา 150 บาท/คน/คืน
• เต็นท์บริการ ขนาด 2-3 คน ราคา 150 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอนราคา 300 บาท/หลัง/คืน
• เต็นท์บริการ ขนาด 4-5 คน ราคา 300 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอน ราคา 500 บาท/หลัง/คืน
• กรณีนำเต็นท์มาเองคิดค่าบริการพื้นที่คนละ 20 บาท
• มีร้านอาหารและเครื่องดื่มภายในสโมสรอ่างขาง

หมายเหตุ : กรุณาสำรองที่พักล่วงหน้าก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 เดือน โทร. 0-5345-0107-9

การเดินทาง


 


การเดินทางสู่ดอยอ่างขางสามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง

• เส้นทางที่ 1 จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง เลี้ยวซ้ายทางแยกตำบลเมืองงาย ตรงเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 1178 ผ่านบ้านอรุโณทัยไปยังศูนย์ฯ

• เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ถึงกิโลเมตร 137 แยกบ้านปางควาย เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1249 ตรงไปประมาณ 25 กิโลเมตร

หมายเหตุ : ใช้รถยนต์ได้ทุกประเภท (ควรเช็คสภาพเครื่องยนต์ก่อนขึ้นเขา และผู้ขับขี่ควรมีประสบการณ์ เพราะเส้นทางมีความชันมาก) หรือใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จุดจอด ณ ปากทางขึ้นดอยอ่างขาง ราคาเหมา 1,000 - 1,500 บาท

สถานที่ติดต่อ

• สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง บ้านคุ้ม หมู่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 50320 โทร. 0-5345-0107-9


แนะนำที่ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร พร้อมคูปองส่วนลดโรงแรม เพียบ

เกาะตะรุเตา

เกาะตะรุเตา



เกาะราวี

เกาะรอกลอย



ข้อมูลและภาพประกอบโดยกระปุกดอทคอม

สายฝนเริ่มโรยราจากฟากฟ้า เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าฤดูท่องเที่ยวกำลังมาเยือนอีกครั้ง ทะเลสีครามสดใส หาดทรายขาวสะอาดเม็ดละเอียด ยิ้มแย้มรอต้อนรับให้นักเดินทางไปสัมผัส ... และเชื่อว่าหลาย ๆ คนกำลังมองหา สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อไปชาร์ตแบตเติมพลังชีวิตให้กับตัวเอง ก็แหม...เรียนมาทั้งปี ทำงานมาเกือบทุกวัน หลบไปพักตาพักใจบ้างอะไรบ้าง

วันนี้ กระปุกดอทคอมเลยมีแหล่งท่องเที่ยว แจ่ม ๆ เจ๋ง ๆ แถมเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลกถึงความสวย ใช่แล้ว! เราจะพาไปนั่งเรือล่องทะเลอันดามัน เยี่ยมชมเกาะน้อยใหญ่ ณ จังหวัดสตูล แต่จะมีที่ไหนบ้างนั้น ... นับ 1 2 3 ไปเที่ยวกันเลย



เกาะตะรุเตา

เกาะตะรุเตา

เกาะตะรุเตา

เกาะตะรุเตา

เกาะตะรุเตา

ทริปนี้เราออกตัวกันที่ "ท่าเทียบเรือปากบารา" จังหวัดสตูล เพื่อนั่งเจ้าทรัพย์อุมมา เรือสปีดโบ๊ทพาหนะยอดฮิต ออกเดินทางไปสัมผัสความงดงามของท้องและอันดามัน โดยปลายทางที่เราจะไปเยือนเป็นอันดับแรกคือ "เกาะตะรุเตา" หรือ "อุทยานแห่งชาติตะรุเตา" อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 8 ของประเทศไทย

อะ ๆ ก่อนอื่นขอแนะนำไกด์ประจำทริป "หาบี๋" หนุ่มใต้คนเก่ง จากท่าเรือเราใช้เวลาไปชื่นชมความสวยของ เกาะตะรุเตา ประมาณ 1.30 ชั่วโมง เกาะเลืองชื่อลือนามอย่าง ตะรุเตา ก็ปรากฏโฉมให้เห็น เพียงแค่มองไกล ๆ ก็รับรู้ได้ถึงความงดงามที่ซ้อนตัวอยู่กลางท้องทะเล ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ 72 กิโลเมตร


เกาะตะรุเตา

เกาะตะรุเตา


ทันทีที่เรือเทียบ ท่าเรือพันเตมะละกา สายตาก็ไปเตะกับทิวสนเรียงราย แต่ก่อนที่จะออกไปลัลลาเล่นน้ำทะลใส ๆ สิ่งแรกที่ควรจะทำคือ การไปสักการะ "เจ้าพ่อตะรุเตา" และ "พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองปกป้องรักษาพื้นดินแห่งนี้ จน Unesco ยกให้เป็น มรดกแห่งอาเชียน (Asean Heritage Parks and Reserves)

บน
เกาะตะรุเตา มีที่เที่ยวมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อ่าวเมาะและ, อ่าวตะโลวาว, อ่าวตะโละอุดัง, อ่านพันเตมะละกา, ผาโต๊ะบู ฯลฯ และที่ขาดไม่ได้คือ อ่าวตะโละอุดัง และ อ่าวตะโละวาว สถานที่ที่อดีตเคยเป็นทัณฑสถาน และเป็นนิคมฝึกอาชีพของนักโทษเด็ดขาด, นักโทษผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย และนักโทษการเมือง ก่อนจะยกเลิกไปในที่สุด


เกาะไข่

เกาะไข่

เกาะไข่

เกาะไข่

สำรวจทั่ว เกาะตะรุเตา แล้วก็ได้เวลาออกเดินทางไป เกาะไข่ เกาะเล็ก ๆ แต่ฮอตฮิตสำหรับคู่รัก เพราะมีหนุ่มสาวหลายคู่ ข้ามน้ำข้ามทะเลมาเกาะแห่งนี้ เพื่อลอด "ซุ้มประตูหิน" ปรากฎกาณณ์ทางธรรมชาติ ที่ทอดโค้งจากผืนทรายจรดน้ำ ตามความเชื่อที่ปรากฎบนป้ายว่า

... ประตูหินโค้ง...ตะรุเตา จุดเพิ่มพูนตำนานรักหนุ่มสาว แดนประเดิม เสริมรักให้ยืนยาว สองเราก้าวสู่ประตู...นิรันดร์ ...

ทั้งนี้ทั้งนั้น มีเคลัดลับเสริมอยู่เล็ก ๆ น้อย ๆ หากคู่รักหนุ่มสาวจูงมือกันลอดซุ้มประตูหิน แล้ววกกลับมาลอดซุ้มประตูหินเล็ก ๆ ที่อยู่เคียงข้างกัน เพียงเท่านี้ความรักของทั้งคู่ก็จะยืนยาวมั่นคงยิ่งขึ้น (เขาว่ากันแบบนั้นนะ) ส่วนชื่อ เกาะไข่ มีที่มาจากเต่าทะเลมักขึ้นมาวางไข่ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ จนทำให้ถูกขนานนามว่า "เกาะไข่"

เกาะหินซ้อน

เกาะหินซ้อน

ลอด "ซุ้มประตูหิน" ณ เกาะไข่ กันแล้ว ก็ออกเดินทางไป "เกาะหินซ้อน" ชมปรากฎการณ์ที่ธรรมชาติที่พระเจ้ารังสรรค์ให้มนุษย์อย่างเรา ๆ ตื่นตาตื่นใจกันต่อ นั่งเรือเพียงแค่ 30 นาที ภาพของหินก้อนโตทับซ้อนกันอย่างน่าอัศจรรย์ ตั้งเรียงกันอย่างงดงามแปลกตา ก็ปรากฎให้ประหลาดใจ โดยเฉพาะหิน 2 ก้อนขนาดบิ๊กไซส์ ที่ทับซ้อนตั้งฉากกับทะเลสีคราม แถมบริเวณรอบ ๆ ยังสามารถดำดิ่งชมความงามปะการัง และโลกใต้ทะเลได้อีกด้วย หาบี๋ ไกด์คนเก่งของเราบอกอีกว่า "เกาะหินซ้อน" ถือเป็นประตูทางทะเลสู่จังหวัดตรัง เมื่อไหร่ก็ตามที่เห็นเกาะแห่งนี้ ชาวเรือจะรับรู้ได้ทันทีว่ากำลังเดินทางเข้าเขตจังหวัดสตูลแล้ว

เกาะรอกลอย

เกาะรอกลอย

เกาะรอกลอย

เกาะรอกลอย

เกาะรอกลอย


อลังการงานสร้างกับ "เกาะหินซ้อน" กันแล้ว ก็ถึงเวลาไปสัมผัสหาดทรายขาว ๆ น้ำทะเลสีมรกตที่ "เกาะรอกลอย" ซึ่งห่างออกไปเพียงแค่ประมาณ 15 นาที เกาะเล็กพริกขี้หนูแต่งามจนได้รับฉายา "ทะเลหยก" นักท่องเที่ยวมักแวะเวียนทักทาย เกาะรอกลอย เพื่อเติมพลังก่อนไปตะลุยยังเกาะอื่น ๆ เพราะบนเกาะคราคร่ำไปด้วยแมกไม้ร่มรื่น แถมยังมีเก้าอี้ไม้ตั้งรอต้อนรับอยู่เพียบ หรือจะปีนขึ้นไปชมวิวบริเวณด้านบนเกาะ หรือใครอยากเล่นน้ำทะเลก็สามารถกระโดดไปแหวกว่ายได้

เกาะราวี

เกาะราวี

เกาะราวี

เกาะราวี

เกาะราวี

นั่งทอดอารมณ์อยู่พักใหญ่ ก็ถึงเวลาไปโล้ชิงช้าที่ "เกาะราวี" เกาะที่มีนักท่องเที่ยวหลาย ๆ คนอยากมานอนกลิ้งเกลือก หยอกเย้าปูเสฉวนตัวเอ้เดินต้วมเตี้ยมบน "หาดทรายขาว" แต่ทันทีที่เดินทางมาถึง เกาะราวี เท้าเจ้ากรรมกลับตรงดิ่งไปโพสต์ท่าถ่ายรูปคู่ขอนไม้สีขาวนวล สัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าได้มาเยือน เกาะราวี แล้ว ก่อนจะกระโจนลงทะเลสีใสแจ่ว เล่นน้ำอย่างครึกครื้น เพราะบริเวณนี้ชายหาดไม่ลาดเอียงมากนัก เหมาะสำหรับลงไปเล่นน้ำทะเลสุด ๆ

เกาะหินงาม

เกาะหินงาม

แหม...เล่นน้ำจนฉ่ำปอดแล้ว ก็ไปเรียงก้อนหินขอพรที่ "เกาะหินงาม" กันต่อ จาก เกาะราวี มุ่งหน้าสู่ เกาะหินงาม ใช้เวลาประมาณ 20 นาที หาดทรายถูกแทนที่ด้วยก้อนหินสีดำแวววับ กลมเกลี้ยงจากการถูกขัดสีฉวีวรรณของน้ำทะเล เรียงรายนับล้านก้อน ก็ค่อย ๆ เผยโฉมให้สายตาต้องมนต์สะกด พร้อม ๆ กับความมุ่งมั่นเล็ก ๆ หลังฟัง ไกด์เล่าถึงความเชื่อเรื่องการนำก้อนหินบนเกาะ มาเรียงซ้อนกันให้ได้ 13 ก้อน และจะสามารถอธิษฐานขอพรให้สมประสงค์ได้

ก่อนที่หูจะสะดุดกับคำเตือน "ห้ามหยิบก้อนหินบนเกาะติดมือกลับไปเด็ดขาด!" และตามมาด้วยเรื่องราวอาถรรพ์ "คำสาปเจ้าพ่อตะรุเตา" ที่ถูกถ่ายทอดให้ฟังจนขนลุก (ความเชื่อส่วนบุคคล) ผสมกับความกลัวหน่อย ๆ อิอิ แต่เมื่อสองเท้าได้ยืนอยู่บน เกาะหินงาม ความน่ามองที่เข้ากันดีของน้ำทะเลกับก้อนหินสีดำขนาดน้อยใหญ่ ก็ทำให้ลืมความกลัวไปชั่วขณะ และหันไปดื่มด่ำกับก้อนหินลวดลายสวยงามแทน ยิ่งเวลาน้ำทะเลซัดซาดเข้าใส่ ก้อนหินจะเกิดประกายแวววับงดงามจับใจ

เกาะหลีเป๊ะ

เกาะหลีเป๊ะ

เกาะหลีเป๊ะ

เรียงก้อนหินกันหนำใจ ก็ถึงเวลาไปเยือนเกาะสุดท้าย ซึ่งเป็นไฮไลท์เพราะได้ฉายา "มัลดีฟส์เมืองไทย" ใช่แล้วเรากำลังพาเพื่อน ๆ ไปเที่ยว "เกาะหลีเป๊ะ" หรือ "เกาะสิเป๊ะ" เกาะที่มีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ แต่เป็นที่พักพิงของชุมชนชาวเลหลายครอบครัว ที่ยังดำเนินวิถีชีวิตตามแบบดั่งเดิม แม้ว่าความความเจริญของเทคโนโลยีจะค่อย ๆ กลืนกิน

จุดเด่นอีกหนึ่งอย่างของ เกาะหลีเป๊ะ ก็คือความเนียนนุ่มของหาดทรายสีขาว ที่ถูกโอบล้มด้วยน้ำทะลสีเขียวมรกต ท้ายที่สุดเมื่อไปเยือน เกาะหลีเป๊ะ ต้องไปชิม "ชาชัก" เคล้า "โรตี" ไส้ต่าง ๆ ของขึ้นชื่อของเขาล่ะ แถมบน เกาะหลีเป๊ะ ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน รอต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

อะ ๆ เริ่มอยากเก็บกระเป๋ามุ่งหน้าสู่จังหวัดสตูล ไปสัมผัสความงามของเกาะน้อยใหญ่แบบเราแล้วใช่ไหม...จะช้าอยู่ใย เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้นะจ๊ะ

ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตรัง โทร. 075-215867, 075-211085, 075-211058 หรือ 1672 Email : tattrang@tat.or.th และ www.tourismthailand.org

About this blog

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ขำๆกับภาพหลุด

About

ผู้เข้าชม

free counters