วิธีง่ายๆ เพื่อการท่องจำอัลกุรอาน อิสลามกับวันวาเลนไทน์ เทศกาลวาเลนไทน์ … สำหรับใคร


คุณลักษณะของชายที่จะเลือกมาเป็นคู่ครอง

เขียนโดย ซอลาหุดดีน

การ แต่งงานเป็นสิ่งที่อิสลามส่งเสริมให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นการรักษาความ บริสุทธิ์ของผู้หญิงและผู้ชาย ให้ออกห่างจากการที่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการทำซินาหรือผิดประเวณี ในเมื่อการแต่งงานนั้นเป็นสิ่งที่อิสลามส่งเสริมและให้ความสำคัญ และการแต่งงานนั้นเป็นการเคารพภักดีต่ออัลลอฮด้วย เราจะเห็นในหะดีษก็ดี หรือข้อเขียนของนักวิชาการจำนวนมาก มักจะกำหนดคุณลักษณะของผู้หญิงที่เราจะหามาเป็นคู่ครอง แต่ในที่นี้ผมขอหยิบยก การที่ผู้หญิงจะสรรหาผู้ชายมาเป็นคู่ครอง ประการแรกที่จะต้องพิจรณาสำหรับคนที่จะเข้าสู่ประตูวิวาห์ หรือต้องการที่จะสละโสด ก็คือต้องพิจรณาในเรื่องศาสนาของผู้ชาย จำเป็นที่ผู้ชายคนนั้นเป็นมุสลิมที่มีความเอาใจใส่ในเรื่องของศาสนา และเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของอิสลามในการดำเนินชีวิตของเขา ผู้ที่เป็นผู้ปกครองของฝ่ายหญิงจะต้องสืบดูว่าผู้ที่จะมาแต่งงานกับลูกสาว ของเรา ไม่ใช้มองแต่รูปกายภายนอกของผู้ที่จะมาเป็นสามีลูกสาวของเรา เช่นจะต้องเป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่นับหน้าถือตาของคนในสังคม โดยที่ไม่คำนึงว่าคนนั้นจะมีความเข้าในเรื่องศาสนาหรือไม่ และสิ่งที่ควรพิจรณาเป็นประการแรกในเรื่องนี้ก็คือ การละหมาดเพราะว่าการละหมาดนั้นเป็นสิทธิที่บ่าวจะต้องปฏิบัติต่ออัลลอฮ ดังนั้นผู้ใดที่ไม่ทำการละหมาด เขาก็เป็นผู้ที่บกพรองหน้าที่ที่เขามีต่อพระเจ้า แน่นอนผู้ที่ละเลยหน้าที่ของเขาที่มีต่อพระเจ้า เขาก็ย่อมละเลยหน้าที่ที่มีต่อผู้อื่นเช่นเดียวกัน ดังนั้นชายที่เป็นผู้ศรัทธาเอาจะไม่เอาเปรียบ ข่มเหงภรรยาของเขาอย่างแน่นอน หากเขารักภรรยาของเขา เขาก็จะให้เกียรตินาง และหากเขาไม่พอใจนางเขาก็ไม่อธรรมต่อนาง และคุณลักษณะดังกล่าวนั้นไม่มีในหมู่ผู้ชายที่ไม่ใช่ผู้ศรัทธา เราจะเห็นว่าอัลลอฮได้กล่าวไว้ในอัลกุรอานว่า แม้แต่ชายที่เป็นทาสของผู้อื่นที่เป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮนั้นดีกว่าชายที่ เป็นผู้ตั้งภาคต่ออัลลอฮ ถึงแม้ชายที่ตั้งภาคีจะเป็นที่ชอบพอของเราก็ตาม เพราะมุสลิมเราในการมีชีวิตนั้นเราต้องใช้ชีวิตเพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮ เพราะจุดประสงค์ของอัลลอฮในการที่พระองค์ได้มีบัญญัติให้มุสลิมทำการแต่งงาน นั้นก็เพื่อต้องการที่จะสร้างครอบครัวที่ศรัทธาต่อัลลอฮ ดังนั้นการเลือกคู่ครองนั้นเป็นการบอกถึงเจตนาของเราว่าเราจะสร้างครอบครัว ในอนาคตของเราออกมาในรูปแบบใด ดังนั้นผู้นำครอบครัวนั้นถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างครอบของมุสลิมให้ เป็นไปตามความต้องการของอัลลอฮ อัลลอฮได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า


قال الله تعالى : (ولبعد مؤمن خير من مشرك ولو أعجبكم )
อัลลอฮตาอาลาได้ ตรัสไว้ว่า และแน่นอนบ่าวที่เป็นผู้ศรัทธานั้นย่อมดีกว่า ชายที่เป็นผู้ที่ตั้งภาคี ถึงแม้เขาจะเป็นที่ชอบพอแก่พวกเจ้า

وقال النبي صلى الله عليه وسلم : ( إذا جاء كم من ترضون دينه وخلقه فأنكحوه ، إلا تفعلوا تكن فتنة في الأرض وفساد عريض ) رواه الترمذي
ท่านนบีศอลลัล ลอฮู อะลัยอิวะซัลลัมได้กล่าวว่า (เมื่อมีบุคคลที่พวกเจ้ามีความพอใจ ในศาสนาและมารยาทของเขาได้มายังพวกเจ้า(หมายถึงมาสู่ขอลูกสาว) ดังนั้นพวกเจ้าจงทำการนิกาฮให้แก่เขา มิเช่นนั้นพวกเจ้าได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากมาย)
รายงานโดย ท่านอัตติรมีซีย์

และอิสลามนั้นส่งเสริมให้แต่งงานกับชายที่มีความรู้ และเคร่งครัดในนเรื่องศาสนา และชายที่มีตระกุลที่ดี เช่นเป็นที่รู้ว่าเป็นตระกูลที่อยู่ในสิ่งที่เป็นความดีและคุณธรรม ก็หมายความว่าตัวของผู้ชายที่เราจะแต่งงานแล้ว เราจะต้องมองไปดูอีกว่าเครือญาตพี่น้องของเขาเป็นอย่างไร โดยเฉพาะพ่อแม่ของเขา ถ้าพ่อแม่ทั้งสองของเขาเป็นคนดีที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮ ก็เป็นการดีเพราะความดีของคนดีที่ตายไปแล้วความดีของเขายังผลมายังคนรุ่นลูก หลาน ตัวอย่างในซูเราะห์ อัลกะฟีย์ที่อัลลอฮได้ปกป้องทรัพย์สินของเด็กกำพร้าในฐานะที่พ่อแม่ทั้งสอง ของเขาเป็นคนดี ความดีของคนทั้งสองนั้นได้รับผลมายังลูกของเขาทั้งสอง
قال الله تعالى : (وأما الجدار فكان لغلامين يتيمين في المدينة وكان تحته كمز لهما وكان أبوهما صالحا فأراد ربك أن يبلغا أشد هما ويستخرجا كنزهما رحمة من ربك )
(และส่วนเรื่องกำแพงนั้น มันเป็นของเด็กกำพร้าสองคนที่อยู่ในเมือง และใต้กำแพงนั้นมีขุมทรัพย์ของเขาทั้งสอง และพ่อของเด็กทั้งสองเป็นคนดี ดังนั้นพระผู้เป็นเจ้าของท่านประสงค์ที่จะให้เด็กทั้งสองบรรลุความเป็น ผู้ใหญ่ และจะให้เด็กทั้งสองเอาขุมทรัพย์ของทั้งสองออกมา เป็นความเมตตาจากพระเจ้าของท่าน)อัลกะฮฺฟฺ อายะที่ 82
จากอายะนี้จะเห็น ว่าความดีของบิดาที่ล่วงลับไปแล้วยังผลที่ดีมายังลูกมันเป็นการให้เกียรติ ของอัลลอฮที่ให้แก่เขาในฐานะที่เขาเป็นผู้ศรัทธา เช่นเดียวกันการที่เราลูกคู่ครองจากสายเลือดที่ดีๆ สิ่งดีๆเหล่านั้นจะยังผลมายังลูกหลานของเรา

แต่ในปัจจุบันจุด ประสงค์ของการแต่งงานนั้นได้หายไปจากสังคมของเรา การแต่งงานนั้นกลับกลายเป็นประเพณี นิยมที่มักจะอวดกันในเรื่องของมะฮัร และตำแหน่งการงานของคู่บ่าวสาว โดยน้อยคนมากที่จะมาคำนึงในเรื่องความศรัทธาของคู่บ่าวสาวที่ได้ทำการสมรส กัน เลยทำให้เยาวชนรุ่นหลังที่เกิดมานั้นมีพฤติกรรมที่สวนทางกับคำสอนของศาสนา และมีนิสัยที่แข็งกระด้างไม่เชื่อฟังต่อพ่อแม่ และครูบาอาจารย์และยังเป็นปัญหาในการอบรมอีกด้วยจะเห็นว่าเด็กสมัยนี้ การอบรมพวกเขาโดยเฉพาะในเรื่องพฤติกรรมนั้นทำได้ยากมาก ดังนั้นการแต่งงานนั้นไม่ใช้เป็นการลองผิดลองถูก แต่มันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการสร้างอุมมะห์ที่ดีที่จะมาเป็นกำลังสำคัญ ของอิสลาม ดังนั้นคู่บ่าวสาวที่จะทำการสมรสกันนั้นจะต้องมีเจตนาที่ในการแต่งงานด้วย ก็คือเรามีเจตนาให้เป็นไปตามที่อัลลอฮต้องการ ไม่ใช้มีเจตนาในการแต่งงานของตัวเองเป็นเพียงการปลดปล่อยอารมณ์ทางเพศเพียง อย่างเดียว หมายถึงหลังจากการแต่งงานของเรา เรามีภาระที่หนักอึ้งก็คือการอบรมลูกของเราให้เป็นคนดีเป็นผู้ศรัทธาต่ออัล ลอฮ

และเช่นเดียวกันในการเลือกคู่ครองเราต้องดูผู้ชายที่มีงานทำ สามารถมาเลี้ยงตัวเองและสมาชิกในครอบครัวของเขาได้เช่นกัน ในปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งจากปัญหาการหย่าร้างก็คือ การที่ผู้ชายไม่สนใจครอบครัว ก็คือผู้ชายไม่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวและไม่พยายามที่จะทำงานสุดท้ายก็นำพา ครอบครัวสู่ความแตกแยกและหย่าร้าง ดังนั้นอิสลามส่งเสริมในเรื่องของการแต่งงานแต่อิสลามก็ส่งเสริมให้การแต่ง งานนั้นเป็นการแต่งงานที่มีความมั่นคง ก็คือคู่บ่าวสาวสามารถดำเนินชีวิตโดยมีความสุข และส่วนหนึ่งที่ทำให้คนเรามีความสุชในการดำเนินชีวิตได้ก็ คือการที่ผู้นำครอบครัวมีความสามรถที่จะทำการเลี้ยงดูคนในครอบครัวได้ สามารถเลี้ยงดูคนในครอบครัวได้ไม่ได้หมายถึงให้เลือกคนที่รวยมีฐานะ แต่หมายถึงผู้ที่สามารถทำงานเลี้ยงครอบครัวได้
สืบเนื่องจากคำพูดของ ท่านนบีศอลลัลลอฮู อะลัยอิวะซัลลัมที่ท่านได้แนะนำฟาติมห์ บินติ กัยซ รอฏิยัลลอฮูอันฮาในขณะที่นางได้มาขอคำปรึกษาต่อท่านนบี ในขณะที่มีชายสามคนมาทำการสู่ขอนางโดยที่ท่านนบีได้กล่าวว่า
( أما معاوية فرجل ترب ( أي فقير ) لا مال له ....)
สำหรับมูอาวิยะนั้นเป็น ชายที่มีความขัดสนยากจน ไม่มีทรัพย์สิน
จากหะดีษนี้ได้มีชายสามคนมาขอ ผู้หญิงคนหนึ่งแล้วนางมาขอคำปรึกษากับท่านนบี ท่านนบีก็ได้ให้ทางออกด้วยการแนะนำชายที่มีความเหมาะสมทีทำการเลี้ยงดูนาง ก็คือท่านนบีได้บอกว่ามูอาวิยะไม่มีความเหมาะสมที่จะทำการเลี้ยงดูนางก็ เนื่องจาก เขาเป็นคนที่ไม่มีทรัพย์สิน การที่ท่านนบีแนะนำไม่ให้แต่งงานก็มูอาวิยะนั้นไม่ได้หมายความว่า เป็นการห้ามแต่งงานกับคนที่ยากจน ก็หมายถึงท่านนบีมองดูจากคนสามคนที่มาใครมีความเหมาะสมมากที่สุด เพราะบางครั้งผู้หญิงมีฐานะแล้วมีผู้ชายที่มีความยากจนมาสู่ขอก็ไม่ใช้ปัญหา ที่นางจะแต่งงานกับชายผู้นั้น ก็อิสลามมองถึงผลประโยชน์สูงสุดของการแต่งงาน เช่นการครองเรือนของคู่บ่าวสาวนั้นจะต้องให้อยู่กันนานๆ เหมือนที่กล่าวมาแล้วปัจจัยในการดำเนินชีวิตของคนเราคงไม่มีใครปฏิเสธว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากปัจจัยของการดำเนินชีวิต แต่ไม่ได้หมายความว่าอิสลามมองแต่เรื่องทรัพย์สินป็นอย่างเดียว จากหะดีษที่กล่าวมาแล้วเป็นการกล่าวของท่านนบี ตามวาระและความเหมาะสมของผู้ที่มาถามท่าน เช่นบางครั้งมีคนมาขอให้ท่านนบีสอนในเรื่องศาสนา บางคนท่านนบีสอนเขาในเรื่องของการรู้จักระงับอารมณ์ ก็ท่านนบีรู้ถึงจุดบกพร่องของคนที่มาถาม เช่นบางคนเป็นคนโกรธง่าย บางคนท่านนบีบอกว่าให้ละหมาดให้ตรงเวลาของมัน แต่ถ้าคนสองคนที่มาขอผู้หญิง อีกคนเป็นคนที่มีฐานะแต่บกพร่องในเรื่องศาสนา อีกคนเป็นคนที่ไม่มีฐานะแต่มีความเคร่งครัดศาสนา ในกรณีนี้ให้เลือกคนที่มีศาสนาเป็นอันดับแรก ก็หมายความว่าจากหะดีษที่ผ่านมาคนทั้งสามที่มาทำการสู่ขอ ฝาติมะห์ บินติ กัยซ ทั้งสามคนนั้นเป็นคนที่มีศาสนาทั้งสามคน แต่ท่านนบีเลือกคนที่มีความเหมาะสมกับนางที่สุด

และอีกประการที่ ผู้หญิงจะต้องดูในการที่จะตกลงแต่งงานกับใคร ก็คือ มารยาทของผู้ชายต้องไม่เป็นผู้ชายที่ชอบใช้อารมรณ์ตัดสินปัญหา และชอบทำร้ายผู้หญิงด้วยการทุบตี เหมือนตอนหนึ่งของหะดีษที่ผ่านมา
( أما أبو جهم فلا يضع العصا عن عاتقه )
สำหรับอาบูญะฮมฺ เขาไม่เคยวางไม้เท้าของเขาจากบ่า ของเขาเลย
หนึ่งในสามที่มาสู่ขอ ฟาติมะห์ บินติ กัยซฺ ก็คือ อาบูญะฮมฺ ท่านนบีบอกว่าอาบู ญะฮมฺ นั้นไม่เหมาะสมกับนางเนื่องจากเขาชอบทุบตีผู้หญิง เป็นนิสัยส่วนตัวของเขา.
และ ส่งเสริมให้แต่งงานกับผู้ที่สุขภาพดีปราศจากโรค เช่น โรคที่เกี่ยวกับการสืบพันธ์ การเป็นหมั้น หรือ หมดสมรรถภาพทางเพศ
และ ที่สำคัญที่สุดผู้ชายต้องเป็นผู้ที่รู้ในเรื่องของฮุกุม ที่มีอยู่ในอัลกุรอาน และซุนนะห์ของท่านนบี ถ้าได้อย่างที่กล่าวมาถือ ว่าเป็นความอันมากมายของการใช้ชีวิตคู่ของบ่าวสาว

และอนุญาตให้ ผู้หญิงและผู้ชายที่มาทำการสู่ขอกันมองดูซึ่งกันและกัน ในขอบเขตที่ศาสนาได้กำหนดไว้ โดยมีเงื่อนไขจะต้องมีผู้ปกครองฝ่ายหญิงอยู่ด้วย จะให้หญิงอยู่กันเพียงลำพังสองคนไม่ได้ .
และเป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง ของฝ่ายหญิงที่จะต้องสอบถามถึงมารยาท ตลอดเรื่องศาสนาของผู้ที่จะมาทำการสู่ขอลูกสาวเรา จากบุคคลที่ไว้ใจได้ เพื่อขอคำปรึกษากับเขาในเรื่องนี้.
และสุดท้ายที่ลืมไม่ได้ก็ คือ การขอให้อัลลอฮเป็นผู้เลือกสรรให้ก่อนที่เราจะทำการตัดสินใจก็ให้ละหมาดอิส ติกอเราะห์ขอต่ออัลลอฮ......
******ติดตาม ตอนที่ 2 ถัดไปได้เลยครับ******

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

About this blog

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ขำๆกับภาพหลุด

About

ผู้เข้าชม

free counters